(ชั้นปีที่ 1 – 3 จัดการเรียนสอนที่ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และ ชั้นปีที่ 4 จัดการเรียนสอนที่ วิทยาเขตเมืองทองธานี)
คุณสมบัติเฉพาะ
วิธีการคัดเลือก
1.1 ระเบียนผลการศึกษา (ปพ.1)
1.2 แสดงผลงานต่าง ๆ ดังรายการต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ
1) เป็นเจ้าของผลงาน หรือเป็นเจ้าของผลงานร่วมในด้านออกแบบนวัตกรรมธุรกิจ หรือการเขียนแผนธุรกิจ
2) มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจหรือธุรกิจออนไลน์
3) เคยผ่านการอบรมหรือเข้าร่วมประกวดโครงการด้านธุรกิจหรือด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ธุรกิจสตาร์ตอัพ การพัฒนาแอปพลิเคชัน การออกแบบเว็บไซต์ การพัฒนาระบบโปรแกรม เป็นต้น
4) เคยทำกิจกรรมภายในโรงเรียน โดยเป็นกิจกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและมีอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้การรับรองได้
5) เอกสารที่ต้องใส่ใน Portfolio เช่น เกียรติบัตรต่าง ๆ เรียงความ เป็นต้น ฯลฯ
1.3 เขียนเรียงความอย่างน้อย 1 หน้ากระดาษ A4 ที่บรรยายถึงความสนใจของนักเรียน โดยจะต้องแสดงเป้าหมายของการเรียน การทำงาน และเป้าหมายของชีวิต ที่สามารถประสบความสำเร็จได้จากการเรียนในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ
2.1 สอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. (online)
ให้ผู้สมัครดูรายละเอียดได้จากประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ที่ประกาศผ่านเว็บไซต์ https://admission.su.ac.th
2.2 เอกสารที่ต้องนำมาแสดงในวันสอบสัมภาษณ์ ได้แก่ บัตรประชาชนตัวจริง
หมายเหตุ : คะแนนเต็ม 20 คะแนน ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 15 คะแนน
เอกสารประกอบการสมัคร
3.1 ผู้สมัครที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่งระเบียบผลการศึกษาที่แสดงผลการศึกษา 5 ภาคการศึกษา ปีการศึกษา 2565 (กรณีที่มีด้านหลังให้อัปโหลดด้านหลังด้วย) (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
3.2 ผู้สมัครที่สำเร็จศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่งระเบียบผลการศึกษาฉบับที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา (กรณีที่มีด้านหลังให้อัปโหลดด้านหลังด้วย) (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
การจัดส่งเอกสาร
อัปโหลดไฟล์ (ตามข้อที่ 1 – 3 ในหัวข้อเอกสารประกอบการสมัคร) ที่ระบบรับสมัคร https://admission.su.ac.th
หัวข้อ การส่งเอกสาร (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB) ภายในวันศุกรที่18 พฤศจิกายน 2565
โดยตั้งชื่อไฟล์ดังนี้
1) Portfolio ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร_Portfolio.pdf
2) บัตรประชาชน ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร_บัตรประชาชน.pdf
3) หลักฐานการศึกษา ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร_หลักฐานการศึกษา.pdf
ผู้สมัครจะต้องศึกษาขั้นตอนการอัปโหลดเอกสารจากคู่มือการสมัคร ตรวจสอบความเรียบร้อยและความสมบูรณ์ของไฟล์เอกสารที่อัปโหลดในระบบ หากเอกสารไม่ครบถ้วนให้ดำเนินการแก้ไขภายในวันสุดท้ายของการ รับสมัคร มิเช่นนั้นจะถือว่านักศึกษาขาดเอกสารประกอบการสมัครและจะไม่ได้รับการพิจารณาจาก
คุณสมบัติเฉพาะ
ผู้ที่กำลังศึกษา หรือ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
วิธีการคัดเลือก
พิจารณาผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่แสดงให้เห็นความสามารถทางด้านศิลปะและการออกแบบ ผลงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับวิชาเอกที่ต้องการสมัคร
1.1 รูปแบบ Portfolio เฉพาะจำนวนผลงานไม่เกิน 15 หน้ากระดาษขนาด A4 (ไม่นับรวมปก คำนำ สารบัญ ใบประกาศนียบัตรและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) โปรดระบุขนาดของผลงานแต่ละชิ้น (กว้าง x ยาว)
1.2 หัวข้อผลงาน
1) เรียงความเรื่อง “เป้าหมายของการศึกษาในหลักสูตรฯ และวิชาเอกที่สมัคร” (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษขนาด A4, ใช้ฟอนต์ TH Sarabun New ขนาด 16 pt., ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.0)
2) ทักษะพื้นฐานทางด้านศิลปะและการออกแบบ
วิชาเอกการออกแบบแอนิเมชัน | 50 คะแนน |
วิชาเอกการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟแอปพลิเคชัน | 40 คะแนน |
วิชาเอกการออกแบบเกม | 40 คะแนน |
ผลงานสร้างสรรค์ของผู้สมัครที่แสดงถึงความสามารถทางด้านพื้นฐานการวาดภาพ, การออกแบบเบื้องต้น,องค์ประกอบศิลป์, ทฤษฎีสีและการใช้สี, การสร้างสรรค์ผลงานแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ, ในกรณีที่เป็นประกาศนียบัตรที่ได้จากงานประกวด-แข่งขัน ขอให้แนบภาพตัวอย่างผลงานมาด้วย (ถ้ามี) เป็นต้น
3) ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการออกแบบและการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์
วิชาเอกการออกแบบแอนิเมชัน | 50 คะแนน |
วิชาเอกการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟแอปพลิเคชัน | 40 คะแนน |
วิชาเอกการออกแบบเกม | 40 คะแนน |
ผลงานที่แสดงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านต่าง ๆ และสอดคล้องกับวิชาเอกที่ต้องการสมัคร, การเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่างสำหรับผู้สมัครวิชาเอกการออกแบบแอนิเมชัน เช่น งานออกแบบตัวละคร (Character), งานออกแบบฉากหลัง (Background, Perspective), งาน Digital Paint, งานออกแบบด้านอื่น ๆ ได้ทั้ง 2 มิติหรือ3 มิติ, ผ่านการอบรมหรือ Workshop ต่าง ๆ
ตัวอย่างสำหรับผู้สมัครวิชาเอกการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟแอปพลิเคชัน เช่น ภาพการออกแบบกราฟิกบนหน้าเว็บไซต์ที่แสดงบน Browser, งานออกแบบด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างสำหรับผู้สมัครวิชาเอกการออกแบบเกม เช่น งานออกแบบตัวละคร (Character), งานออกแบบฉากหลัง (Background, Perspective), งาน Digital Paint, งานออกแบบด้านอื่น ๆ ได้ทั้ง 2 มิติหรือ 3 มิติ, ผ่านการอบรมหรือ Workshop ต่าง ๆ จากองค์กรภาครัฐหรือเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม, โครงงานหรือผลงานจากวิชาวิทยาการคำนวณ หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม
1.3 การออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน
รูปแบบไฟล์ PDF (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB) (ไม่ควรส่งมาเป็นลิงก์ แล้วให้ทางหลักสูตรฯดาวน์โหลดเอง)
2.1 สอบสัมภาษณ์ วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. (online)
ให้ผู้สมัครดูรายละเอียดได้จากประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ที่ประกาศผ่านเว็บไซต์
https://admission.su.ac.th
2.2 เกณฑ์การให้คะแนนสัมภาษณ์พิจารณาจาก
วิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นและเป้าหมายในการศึกษา | 10 คะแนน |
บุคลิกภาพ ทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ | 5 คะแนน |
แนะนำและนำเสนอผลงานในแฟ้มผลงานของตนเอง | 5 คะแนน |
2.3 เอกสารที่ต้องนำมาในวันสอบสัมภาษณ์
– บัตรประชาชนตัวจริง
– ผลงานด้านการออกแบบตัวจริง (ถ้ามี)
เอกสารประกอบการสมัคร
รายละเอียดที่หลักสูตรได้กำหนด
3.1 ผู้สมัครที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่งสำเนาระเบียบผลการศึกษา5 ภาคการศึกษา ปีการศึกษา 2565 (กรณีที่มีด้านหลังให้อัปโหลดด้านหลังด้วย) (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
3.2 ผู้สมัครที่สำเร็จศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่งระเบียบผลการศึกษาฉบับที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา (กรณีที่มีด้านหลังให้อัปโหลดด้านหลังด้วย) (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
การจัดส่งเอกสาร
โดยตั้งชื่อไฟล์ดังนี้
1) Portfolio ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร (ภาษาอังกฤษ)_Portfolio.pdf
2) บัตรประชาชน ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร (ภาษาอังกฤษ)_บัตรประชาชน.pdf
3) หลักฐานการศึกษา ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร (ภาษาอังกฤษ)_หลักฐานการศึกษา.pdf
ผู้สมัครจะต้องศึกษาขั้นตอนการอัปโหลดเอกสารจากคู่มือการสมัคร ตรวจสอบความเรียบร้อยและความสมบูรณ์ของไฟล์เอกสารที่อัปโหลดในระบบ หากเอกสารไม่ครบถ้วนให้ดำเนินการแก้ไขภายในวันสุดท้ายของการรับสมัคร มิเช่นนั้นจะถือว่านักศึกษาขาดเอกสารประกอบการสมัครและจะไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ
จัดการเรียนสอน ณ วิทยาเขตซิตี้แคมปัสเมืองทองธานี จ.นนทบุรี
ผู้สมัครสามารถอ่านข้อมูลหลักสูตรได้ที่ลิงก์ https://bit.ly/3qgv017
คุณสมบัติเฉพาะ
(ม.4 – ม.5) ไม่ต่ำกว่า 3.00
(ปวช.ปี 1 – ปวช.ปี 2) ไม่ต่ำกว่า 3.00
ไม่ต่ำกว่า 3.00
วิธีการคัดเลือก
พิจารณาผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษขนาด A4 ในรูปแบบไฟล์ PDF ขนาดไม่เกิน 10 MB จำนวน 1 ไฟล์ โดยประกอบไปด้วย
1.1 หน้าปก จะต้องมีชื่อ – นามสกุล รูปถ่ายของผู้สมัคร หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล จัดรูปแบบได้อิสระ
1.2 ผลงานชิ้นที่โดดเด่นที่สุด 1 ชิ้น เท่านั้น ที่ผู้สมัครเคยทำในระหว่างการศึกษาในระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. โดยผลงานดังกล่าวเป็นผลงานที่แสดงทักษะทางการสื่อสาร อาทิ ละครเวที การพูดในที่ชุมชน การทำ vlog การจัดเสียงตามสาย การเขียนข่าว การเขียนบล็อก การถ่ายรูป การเขียนบทความ การทำภาพยนตร์สั้น เป็นต้น หากผลงานมีลักษณะเป็นไฟล์ดิจิทัล ขอให้อัปโหลดใน google drive แล้วจัดทำเป็น QR Code และ URL สำหรับชมผลงานแนบมาใน Portfolio หากเป็นผลงานด้านการเขียน ให้จัดอยู่ในหน้าของ Portfolio ได้เลย จากนั้นเขียน อธิบาย ที่มาและความสำคัญของผลงานที่ทำว่าทำไมถึงเลือกเล่าประเด็นผ่านชิ้นงานนี้ รวมขั้นตอนในการทำผลงานชิ้นที่เลือกมาอย่างละเอียด ว่ามีกระบวนการคิด กระบวนการผลิต การสร้างสรรค์งานอย่างไร และผลของงานเป็นอย่างไร โดยให้เขียนลงในไฟล์เทมเพลตที่กำหนด ดาวน์โหลดได้ที่ https://bit.ly/3qgv017
(กรณีที่แนบ QR Code และ URL เพื่อเข้าถึงไฟล์ ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบว่า QR Code และURL ของตนเองว่าสามารถเข้าดูข้อมูลได้ หรือเปิดสิทธิ์การเข้าถึง มิเช่นนั้นจะถือว่านักศึกษาขาดเอกสารและจะไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ)
1.3 เรียงความ “เป้าหมายด้านการศึกษาทางนิเทศศาสตร์” แสดงให้เห็นมุมมองของผู้สมัครว่าตนมีเป้าหมายของตนเองต่อการเข้าศึกษาด้านนิเทศศาสตร์อย่างไร ความยาว 2 หน้ากระดาษ A4 โดยใช้ฟอนต์ THSarabunPSK ขนาด 16 จัดหน้าให้ทุกบรรทัดยาวเท่ากัน (justified)
1.4 ให้ผู้สมัครคิดโครงการด้านนิเทศศาสตร์ในอนาคตที่ผู้สมัครอยากทำลำดับต่อไปว่าคืออะไร โดยให้เขียนอธิบายความคิดและแผนงาน ประกอบด้วย
1) หลักการและเหตุผล เป็นการระบุถึงปัญหา ความเร่งด่วน และความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการโดยวิเคราะห์และแจกแจงประเด็นปัญหาให้ชัดเจน
2) วัตถุประสงค์ แสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดหมายปลายทางจากการปฏิบัติ ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่จะตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ เขียนเป็นข้อ ๆ
3) สถานที่ดำเนินการ
4) ระยะเวลาในการดำเนินการ
5) รูปแบบของผลงานและเนื้อหาที่นำเสนอ (ระบุประเภทสื่อที่ทำ เช่น ภาพยนตร์สั้น,พอดคาสท์, อินโฟกราฟิก, บทความ, กิจกรรมต่าง ๆ ฯลฯ)
6) แผนการทำงาน (ระบุแผนการทำงานที่วางแผนจะทำโดยละเอียด)ผู้สมัครดาวน์โหลดเทมเพลต ได้ที่ https://bit.ly/3qgv017
เกณฑ์การให้คะแนนแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 100 คะแนน พิจารณาจาก
ความเข้าใจในหลักการทางนิเทศศาสตร์ | 35 คะแนน |
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร | 35 คะแนน |
ความคิดสร้างสรรค์ | 30 คะแนน |
หมายเหตุ: ผลงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดที่กล่าวไปข้างต้น อาทิ ประกาศนียบัตรการเข้าร่วม
กิจกรรมใด ๆ ผู้สมัครไม่ต้องส่งมา เพราะจะไม่พิจารณาเอกสารอื่นที่นอกเหนือจาก ที่แจ้งมาแล้วข้างต้น ผู้สมัครที่จะผ่านการคัดเลือกเข้ามาสัมภาษณ์จะต้องได้คะแนนของ Portfolio ไม่น้อยกว่า 75 คะแนน
2.1 สอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 – 16:00 น. (online)
ให้ผู้สมัครดูรายละเอียดได้จากประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ที่ประกาศผ่านเว็บไซต์ https://admission.su.ac.th
2.2 หัวข้อการสอบสัมภาษณ์ “จุดประสงค์ของผู้สมัครต่อการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์” ค่าน้ำหนัก 30%
2.3 เอกสารที่ต้องนำมาแสดงในวันสอบสัมภาษณ์ ได้แก่ บัตรประชาชนตัวจริง
เอกสารประกอบการสมัคร
3.1 ผู้สมัครที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่งสำเนาระเบียบผลการศึกษาที่
แสดงผลการศึกษา 5 ภาคการศึกษา ปีการศึกษา 2565 (กรณีที่มีด้านหลังให้อัปโหลดด้านหลังด้วย) (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
3.2 ผู้สมัครที่สำเร็จศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่งสำเนาระเบียบผลการศึกษาฉบับที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา (กรณีที่มีด้านหลังให้อัปโหลดด้านหลังด้วย) (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
การจัดส่งเอกสาร
โดยตั้งชื่อไฟล์ดังนี้
1) Portfolio ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร_Portfolio.pdf
2) บัตรประชาชน ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร_บัตรประชาชน.pdf
3) หลักฐานการศึกษา ให้ตั้งชื่อไฟล์ ชื่อ_นามสกุลผู้สมัคร_หลักฐานการศึกษา.pdf ผู้สมัครจะต้องศึกษาขั้นตอนการอัปโหลดเอกสารจากคู่มือการสมัคร ตรวจสอบความเรียบร้อยและความสมบูรณ์ของไฟล์เอกสารที่อัปโหลดในระบบ หากเอกสารไม่ครบถ้วนให้ดำเนินการแก้ไขภายในวันสุดท้ายของการรับสมัคร มิเช่นนั้นจะถือว่านักศึกษาขาดเอกสารประกอบการสมัครและจะไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ