วิชาเอกแอนิเมชัน เน้นการศึกษากระบวนการสร้างงานภาพเคลื่อนไหว ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้จริงในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การสร้างไอเดียนำมาเขียนพล็อตเรื่องไปจนถึงขั้นผลิตผลงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้นักศึกษายังจะต้องศึกษาและเรียนรู้ขั้นตอนของการทำงานออกแบบด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์กับงานด้านอื่นๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ที่สุดแล้วนักศึกษาจะได้ลงมือปฏิบัติงานจริงในด้านที่ตนเองถนัด เพื่อให้เกิดความชำนาญ
เริ่มต้นศึกษากระบวนการเรียนรู้ทฤษฎีด้านการออกแบบ ทั้งในเชิงทฤษฏีและปฏิบัติในวิชาพื้นฐานต่างๆเช่น Computer Graphic and Design ที่ผนวกทักษะด้าน Basic Design และ ComputerDesign
เน้นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างงานในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อความเข้าใจภาพรวมของลำดับขั้นตอนในการสร้างงานแอนิเมชั่น
เน้นวิชาที่สามารถนำไปช่วยเสริมให้การสร้างงานแอนิเมชันมีความสมบูรณ์แบบ และช่วยให้ผู้เรียนได้พบแนวทางถนัดของตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำจุลนิพนธ์
นักศึกษาจะได้ทำโครงการจุลนิพนธ์โดยเลือกแนวที่ตนเองถนัด และมีอาจารย์และกรรมการซึ่งเป็นบุคลากรในวงการแอนิเมชันที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์เป็นผู้ให้คำปรึกษา สร้างสรรค์ และผลิตงานเสร็จสิ้นเป็นแอนิเมชันที่สมบูรณ์
วิชาเอกเว็บและสื่อโต้ตอบ มุ่งผลิตผู้มีความเชี่ยวชาญทักษะอาชีพเพื่อตอบโจทย์ที่ต้องการของประเทศในยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการใช้สื่อออนไลน์ เน้นการฝึกพัฒนาทักษะ สร้างสมประสบการณ์รอบด้านเพื่อการต่อยอดผลงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฝึกทักษะทั้งในด้านทักษะการออกแบบให้มีความสวยงาม และด้านโปรแกรมมิง ที่ถูกฝึกฝนอย่างหนักหน่วงควบคู่กัน ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ การทำงาน ติดอาวุธที่หลากหลาก และสามารถประยุกต์ในการผลิตงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้อย่างหลากหลายรอบด้าน
ศึกษากลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปและกลุ่มวิชาแกน เรียนรู้ทฤษฎี ด้านการออกแบบพื้นฐาน (Basic Design) ทั้งในเชิงทฤษฏีและฝึกอย่างหนักในภาคปฏิบัติ รวมถึงศึกษาด้านความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม อาทิ Object Oriented Programing, C++, C# ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เรียนรู้พื้นฐานทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการออกแบบ และด้านโปรแกรมมิง ผลที่ได้คือนักศึกษาจะมีพื้นฐานที่ดี เข้าใจ และสามารถต่อยอดได้ดีในอนาคต
ศึกษาด้านการออกแบบเฉพาะทางด้านสื่ออินเทอร์แอคทีฟ และแอปพลิเคชันมากยิ่งขึ้น อาทิ วิชาการวิเคราะห์แนวโน้มสื่ออินเทอร์แอคทีฟ วิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ การพัฒนาสื่อด้วยเทคนิคที่หลากหลาย อาทิ การฉายภาพลงบนวัสดุ (Projection Mapping) ที่อินเทอร์แอคทีฟกับผู้ใช้ด้วยกล้อง Webcam, กล้อง Kinect และเซ็นเซอร์ต่างๆ เป็นต้น และศึกษาด้านโปรแกรมมิงที่เกี่ยวข้อง เช่น Swift, Kotlin, HTML, Java, Javascript, VUEJS เป็นต้น เน้นฝึกฝนลงมือพัฒนาผลงาน ให้เกิดความสนุกสนาน และกระตุ้นการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากการลงมือทำ
ศึกษาวิชาที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการคิด และความคิดสร้างสรรค์ ในการคิดเพื่อผลิตผลงานให้ตรงตามโจทย์ ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมขั้นสูง ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล (Database) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นใหญ่สำคัญ และออกไปจัดการนำเสนอผลต่างต่อสาธารณชน เช่น ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ (คลิกดูตัวอย่างผลงาน) เป็นต้น
นักศึกษาจัดทำโครงงานจุลนิพนธ์รายบุคคล หรือแบบกลุ่ม โดยเลือกหัวข้อจากความถนัด ซึ่งสอดคล้องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์แอคทีฟแอปพลิเคชัน ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความแปลกใหม่ ด้วยเทคนิคที่หลากหลายและไม่หยุดนิ่ง โดยการควบคุมดูแลของคณะอาจารย์และกรรมการจากภายนอก ที่มีประสบการณ์โดยตรง มีความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าในวงการอินเทอร์แอคทีฟ และแอปพลิเคชัน ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากบุคคลที่ทำงานจริงทำให้พร้อมทำงานได้ทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา
วิชาเอกเกม มุ่งเน้นการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์งานเกม ให้รู้จักทักษะอาชีพในการผลิตเกมทั้งด้านการออกแบบและการพัฒนาโปรแกรมเกม โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติได้จริงในทุกๆขั้นตอน การสร้างเกมเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค สามารถวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียของเกมที่มีในตลาด แล้วนำกลับมาพัฒนาให้เกิดชิ้นงานที่เกิดการสร้างสรรค์ และมีความน่าสนใจ
เริ่มต้นศึกษากระบวนการเรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานดานการพัฒนาโปรแกรมเบื้องต้น การเข้าใจในเรื่องโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีในการประมวลผลโปรแกรม อีกทั้งยังมีทฤษฎีด้านการออกแบบ ทั้งในเชิงทฤษฏีและ ปฏิบัติในวิชาพื้นฐานต่างๆ เช่น Computer Graphic and Design ที่ผนวก ทักษะด้าน Basic Design และ Computer Design เข้าไว้ด้วยกัน โดยภาพรวมแล้วถือว่ายังเรียนเหมือนกับเอกอื่นๆในสาขาออกแบบ
มีเรียนวิชาด้านซอฟแวร์ที่เจาะจงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเอกเกมจะเรียนการพัฒนาโปรแกรมเกมด้วยโปรแกรม Unity และเริ่มประยุกต์พื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้เข้าใจในทฤษฎีการโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ Object Oriented Programming ในการนำมาใช้พัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการได้ออกแบบ Board Game เพื่อให้เข้าใจหลักแนวคิดในการออกแบบเกมที่ไม่ได้มีเพียงแต่ในคอมพิวเตอร์เท่านั้น อีกทั้งยังมีเรื่องของการเตรียมการผลิตและเรียนรู้เทคนิค Digital Painting อีกด้วย
จะเน้นการเรียนในระดับที่เข้มข้นขึ้นมาก ทั้งด้านออกแบบจะเรียน Maya for game เรียน Character Design for games ส่วนด้าน Programming จะเรียนเขียนเกมด้วย OpenGL และยังลงไปในเรื่องของ Shader Programming ในการใส่ Shader ให้กับวัตถุ 3 มิติ อีกทั้งยังมีการเรียนทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence เพื่อประยุกต์ใช้ให้ตัวละครในเกมทำงาได้โดยไม่มีมนุษย์เข้ามาควบคุม และทั้งหมดในปีนี้เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมในการทำจุลนิพนธ์ในปีถัดไป
นักศึกษาจะได้ทำโครงการจุลนิพนธ์ โดยสามารถเลือกทำงานเป็นกลุ่มหรือ ทำงานเดี่ยวก็ได้ สามารถแสดงศักยภาพตามแนวทางที่ตนเองถนัดหรือมีความ สนใจ โดยมีอาจารย์และกรรมการซึ่งเป็นบุคลากรในวงการเกมที่มีชื่อเสียง และประสบการณ์ ในวงการเกมมีชื่อเสียงระดับแนวหน้า เป็นผู้คอยให้คำปรึกษา ให้ได้ผลงานที่มีความแปลกใหม่ มีคุณภาพ และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Information and Communication Technology Silpakorn University